แร่ธาตุต่างๆ ใช้กับ ทรัพยากร

แร่ทองคำ อย่างเดียว
โดย ดาว = ทองในหิน
     เขียว = ทองในตะกอน

ทอง (เชียงราย)

ทอง (กลางตอนเหนือ)

ทอง (อีสาน)

ทอง (กลางเพชรบูรณ์)

ทอง (ตะวันออก)

กำลังดำเนินการ

 เดือนธันวาคมนี้  จะพานักเรียนไปทัศนศึกษาภาคเหนือ  ครูเลยนำลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือมาให้นักเรียน
             ศึกษาแต่ไม่ลืมแถมภาคอื่นๆ  ให้นักเรียนทราบด้วย

เนื้อหา

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภาคต่างๆ  ของประเทศไทย

ภาคเหนือ
          มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบระหว่างภูเขามีป่าไม้มาก  จึงเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ  คือ  ปิง  วัง  ยม  น่าน  เทือกเขาที่สำคัญ  คือเทือกเขาแดนลาว  และเทือกเขาถนนธงชัย  กั้นระหว่างไทยกับพม่า  เทือกเขาผีปันน้ำ  อยู่ทางตอนกลางของภาค  เทือกเขาหลวงพระบางกั้นระหว่างไทยกับลาว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
         มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบสูง  ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย จึงทำให้มีความแห้งแล้งมากกว่าภาคอื่นๆ  มีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาพนมพญาเย็น กั้นระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เทือกเขาสันกำแพงและพนมดงรักกั้นระหว่างไทยกับลาวและกัมพูชามีแม่น้ำสายสำคัญคือ  แม่น้ำโขง  แม่น้ำชี  แม่น้ำมูล

ภาคกลาง
           ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำที่เกิดจากการทับถมของ เศษหิน  ดิน  กรวด  ทราย  ที่ถูกพัดพามากับกระแสน้ำ  แม่น้ำสายสำคัญคือ  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำท่าจีน  แม่น้ำบางประกง  แม่น้ำแม่กลอง

ภาคใต้
           ลักษณะพื้นที่  จะมีเทือกเขาทอดยาวจากเหนือจดใต้  เลยทำให้ภาคนี้แบ่งออกเป็น  2  ส่วน  คือภาคใต้ฝั่งตะวันออก  และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ด้านตะวันตกจะเป็นที่ราบสูงภูเขา  มีเทือกเขาที่สำคัญคือ  เทือกเขาตะนาวศรี  เทือกเขาภูเก็ต  ที่กั้นระหว่างไทยกับพม่าและเทือกเขาสันการาคีรีที่กั้นระหว่างไทยกัมมาเลเซีย

ภาคตะวันตก
          ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงภูเขาคล้ายภาคเหนือ มีเทือกเขาถนนธงชัยกั้นระหว่างไทยกับพม่า

ภาคตะวันออก
          ลักษณะพื้นที่ เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล มีเทือกเขาบรรทัดกั้นระหว่างไทยกับกัมพูชา

 

ประเด็นอภิปราย 
 
ประกอบการเรียนการสอน  สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  ช่วงชั้นที่  2

บูรณาการกับสาระการเรียนรู้   ศิลปะ เรื่อง  การวาดภาพ ระบายสี

อ้างอิง  :  ผลงานวิชาการ นางสุจินต์  สวนไผ่  เรื่อง  ประเภทของแผนที่

เดือนธันวาคมนี้  จะพานักเรียนไปทัศนศึกษาภาคเหนือ  ครูเลยนำลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือมาให้นักเรียน
             ศึกษาแต่ไม่ลืมแถมภาคอื่นๆ  ให้นักเรียนทราบด้วย

เนื้อหา

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของภาคต่างๆ  ของประเทศไทย

ภาคเหนือ
          มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบระหว่างภูเขามีป่าไม้มาก  จึงเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ  คือ  ปิง  วัง  ยม  น่าน  เทือกเขาที่สำคัญ  คือเทือกเขาแดนลาว  และเทือกเขาถนนธงชัย  กั้นระหว่างไทยกับพม่า  เทือกเขาผีปันน้ำ  อยู่ทางตอนกลางของภาค  เทือกเขาหลวงพระบางกั้นระหว่างไทยกับลาว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
         มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบสูง  ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย จึงทำให้มีความแห้งแล้งมากกว่าภาคอื่นๆ  มีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาพนมพญาเย็น กั้นระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เทือกเขาสันกำแพงและพนมดงรักกั้นระหว่างไทยกับลาวและกัมพูชามีแม่น้ำสายสำคัญคือ  แม่น้ำโขง  แม่น้ำชี  แม่น้ำมูล

ภาคกลาง
           ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำที่เกิดจากการทับถมของ เศษหิน  ดิน  กรวด  ทราย  ที่ถูกพัดพามากับกระแสน้ำ  แม่น้ำสายสำคัญคือ  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำท่าจีน  แม่น้ำบางประกง  แม่น้ำแม่กลอง

ภาคใต้
           ลักษณะพื้นที่  จะมีเทือกเขาทอดยาวจากเหนือจดใต้  เลยทำให้ภาคนี้แบ่งออกเป็น  2  ส่วน  คือภาคใต้ฝั่งตะวันออก  และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ด้านตะวันตกจะเป็นที่ราบสูงภูเขา  มีเทือกเขาที่สำคัญคือ  เทือกเขาตะนาวศรี  เทือกเขาภูเก็ต  ที่กั้นระหว่างไทยกับพม่าและเทือกเขาสันการาคีรีที่กั้นระหว่างไทยกัมมาเลเซีย

ภาคตะวันตก
          ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงภูเขาคล้ายภาคเหนือ มีเทือกเขาถนนธงชัยกั้นระหว่างไทยกับพม่า

ภาคตะวันออก
          ลักษณะพื้นที่ เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล มีเทือกเขาบรรทัดกั้นระหว่างไทยกับกัมพูชา

 

ประเด็นอภิปราย 
 
ประกอบการเรียนการสอน  สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  ช่วงชั้นที่  2

บูรณาการกับสาระการเรียนรู้   ศิลปะ เรื่อง  การวาดภาพ ระบายสี

อ้างอิง  :  ผลงานวิชาการ นางสุจินต์  สวนไผ่  เรื่อง  ประเภทของแผนที่

จุดสูงสุดของประเทศไทย ดอยอินทนนท์

 

 

สวัสดีคะ วันหยุด 3 วันที่ผ่าน หวังว่าทุกคนจะได้มีเวลาดีๆ ได้พักผ่อนกาย พักผ่อนใจ ได้ทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ และมีความสุขกับวันหยุดคะ

 

ครอบครัวสุขสันต์ของแอนนี่ก็ใช้เวลาวันหยุดอย่างนี้ไปเดินเขา (เดินตามทางเดินเล็กๆ สบายๆๆ)ที่ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ แต่ก่อนจะขึ้นยอดดอยก็ต้องแวะที่น้ำตกแม่กลาง กินข้าวเหนียว ไก่ย่างส้มตำ พร้อมชมบรรยากาศสบาย….. เสียงน้ำไหลที่ตกกระทบหิน…

มาดูรูปสวยๆ น้ำใสๆ ไหลเย็น กันได้เลยคะ

 

 

 

 

 

แต่ 2 สาวของแอนนี่สิคะ อารมณ์ไม่ดี เพราะแอนนี่ไม่ได้เตรียมชุดเล่นน้ำมาให้ เรียกถ่ายรูปก็ไม่ยอมถ่าย เพราะงอนคุณแม่ที่ไม่บอกล่วงหน้าว่าจะพามาเที่ยวน้ำตกด้วย

 

น้องลิตาใส่ชุดไทยเต็มยศเพราะคิดว่าจะมาวัด

น้องลิษาใส่กระโปร่งสบายๆ รองเท้าผ้าใบเตรียมปีนเขา

เด็กน้อย 2 คนนี้ เลี้ยงมาพร้อมกันแต่ความคิดเรื่องการแต่งตัวยังไม่เหมือนกัน เขาต่างมีความคิดเป็นของตัวเอง อยากจะใส่อะไร เขาเลือกที่จะตัดสินใจเอง แอนนี่ให้อิสระเขาได้เลือก ได้ทำ ได้คิด หัดเขาตั้งแต่เด็กๆ 

2 สาวทำหน้าเศร้ามาก

เมื่อเห็นเด็กๆ ทำหน้าเศร้า เราเป็นแม่ก็ใจเสียเหมือนกันคะ ต้องแก้ไขสถานการณ์ โดยซื้อชุดเล่นน้ำให้ใหม่ เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ชุดละ 90 บาท ดูแล้วถูกและน่ารักดีคะ ไม่คิดว่าสถานที่ท่องเที่ยงที่ห่างไกลในเมืองมากจะขายถูกอย่างนี้

พอได้ลงเล่นน้ำ ก็ยิ้มแย้มแจ่มใส มีอารมณ์ถ่ายรูปขึ้นมาทันทีเลย

สู้ๆๆๆๆคะแม่

น้ำเย็นๆ แต่ก็ไม่เย็นมาก และก็ไม่ไหลแรงจนเกินไป เหมาะสำหรับการเล่นน้ำคะ

มาเล่นน้ำด้วยกันไหมคะ

มีรูป  “จิงโจ้น้ำ”  มาฝากคะ  

หลังจากเล่นน้ำตกกันเพลิดเพลิน พวกเราเดินทางต่อไปยังพระมหาธาตุ ที่งดงาม เป็นที่เคารพของคนไทย รายล้อมด้วยป่าเขียวขจี อยู่บนยอดดอยสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ด้านล่างได้อย่างชัดเจน (ในวันท้องฟ้าเปิด ไม่มีเมฆหมอก)

อยากให้พื้นป่าในประเทศไทยทุกผืนเขียวขจีเหมือนที่นี้จริงๆ

ทางขึ้นพระมหาธาตุ

อากาศวันนี้หมอกค่อนข้างหนา แสงก็เลยไม่ค่อยมี บางรูปที่มัวเป็นเพราะเมฆหมอกบังตา วันนี้พวกเราเดินขึ้นมหาธาตุฝั่งสวนดอกไม้ ไม่ได้เดินขึ้นทางบันไดด้านหน้า

เด็กบ่นหนาวๆๆๆๆ เพราะไม่ได้เตรียมเสื้อกันหนาวมาด้วย

.

ดอกไฮเดนเยีย แอนนี่ชอบมากคะ เพราะอยู่ค่อนข้างนาน ที่บ้านแอนนี่เองก็ปลูกออกดอกแต่ละครั้ง 6 เดือนถึงจะโรยแต่เป็นสีชมพูเข้ม

ดอกโคมญี่ปุ่น กลีบสีขาวโคมด้านในสีแดงสด

ไฮเดนเยีย ช่อใหญ่มาก ใหญ่ประมาณ 1 ฟุต ยาวพอๆ กับร่มที่แอนนี่ถือ

“พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ”ยามหมอกเคลื่อนเข้ามา

พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ

บริเวณฐานพระมหาธาตุ จะมีลักษณะคล้ายกลีบดอกบัว ซึ่งแต่ละกลีบมีภาพไม้แกะสลักทีงดงามแตกต่างกันไป

สวนบริเวณด้านหลังพระมหาธาตุ ด้านล่างเป็นเหวลึก มองเห็นแต่เมฆหมอกลอยผ่าน

 

ยามเมฆหมอกลอยผ่านไป ก็จะทำให้มองเห็นหน้าผาฝั่งตรงกันข้าม ซึ่งรูปข้างล่างนี้จะมองเห็นพระรูปหนึ่งยืนอยู่บนปากเหว

ด้านในพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ

เมื่อยืนอยู่ฝั่งนี้ก็จะมองเห็นพระมหาธาตุนภเมทนีดล เด่นเป็นสง่า งดงามไม่แพ้กัน

พวกเราไม่ได้ไปชมความงามกันใกล้ๆ เพราะบันไดฝั่งนั้นกำลังอยู่ระหว่างการซ่อมแซม

ดอกโคมญี่ปุ่น กลีบแดงโคมสีม่วง เห็นแล้วสีเหมือนดอกไม้ที่ทำจากแป้งโด เพราะสีสันสดใสมาก ยิ่งเอามาลอยในอ่างดินเอาก็น่ารักไปอีกแบบคะ นี้วิวหน้าห้องน้ำ เห็นน่ารักดีเลยถ่ายรูปมาฝากเพื่อนๆๆ

ช้างหินน่ารัก

เดินทางต่อไปที่ยอดดอยอินทนนท์ จุดที่สูงที่สุดของประเทศไทยคะ

มายืนบนนี้ที่ไหร่ คิดว่าจะได้มองเห็นวิวสวยๆ แต่ก็ไม่เคยเห็นสักครั้ง เพราะมีแต่ก้อนเมฆลอยไปมา “ยิ่งสูงยิ่งหนาว ห่างไกลผู้คน โดดเดี่ยวจริงๆๆ”

มีรูปสาวน่ารักมาฝากหนึ่งคนคะ เธอกำลังยืนรอเพื่อนถ่ายรูปให้  แอนนี่ก็เลยถ่ายให้เสียเลย

ป่าชื้น มีหญ้ามอสขึ้นตามต้นไม้ ทางเดิน เห็นแล้วก็ได้อีกบรรยากาศหนึ่งคะ

บนนี้มีร้านกาแฟด้วยนะคะ

ประวัติการทำแผนที่ประเทศไทย โดย พลโท พระยาศัลวิธานนิเทศ
          การทำแผนที่แบบตะวันตกโดยคนไทยเริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ใน พ.ศ. ๒๔๑๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหน่วยทหารช่างขึ้นในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ให้นายเฮนรี  อะลาบาสเตอร์ (Henry Alabaster) (ซึ่งเคยรับราชการสถานทูตอังกฤษ  แล้วเข้ามารับราชการไทยเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์) เป็นหัวหน้า  นายนาวาเอก ลอฟทัส (Lophtus) เป็นผู้ช่วย และมีหม่อมราชวงศ์ แดง(หม่อมเทวาธิราช) นายทัด (พระยาสโมสรสรรพการ) นายสุด  (พระยาอุดรกิจพิจารณ์) และ หม่อมราชวงศ์แปลก (พระยาสากลกิจประมวล)ทั้ง ๔ นายนี้ เป็นนายทหารในกรมทหารมหาดเล็ก ให้เข้ารับการอบรมฝึกหัดในหมวดทำแผนที่นี้
          งานที่ได้ทำไป ได้แก่ การทำแผนที่บริเวณถนนเจริญกรุง บริเวณใกล้พระราชวัง  และบริเวณปากอ่าวเพื่อการเดินเรือ และใช้เป็นแนวทางป้องกันทางทะเลด้านอ่าวไทย
          ใน พ.ศ. ๒๔๒๓ ทางรัฐบาลอังกฤษได้ขออนุญาตให้สถาบันการแผนที่อินเดีย เข้ามาทำการวัดต่อสายสามเหลี่ยมสายเขตแดนตะวันออกโดยเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เพื่อสร้างหมุดหลักฐานแผนที่ที่ภูเขาทอง (กรุงเทพ) และที่พระปฐมเจดีย์ (นครปฐม) และโยงต่อออกไปจนถึงบริเวณปากอ่าว เพื่อจะได้โยงยึดเข้าด้วยกันกับสายหมุดหลักฐานที่สถาบันการแผนที่อินเดียได้ทำเข้ามาทางทะเล สำหรับใช้ในการสำรวจแผนที่ทางทะเล มีนายร้อยเอก เอช. ฮิลล์ (H. Hill) เป็นหัวหน้ากองแผนที่ นายเจมส์ แมคคาร์ที เป็นผู้ช่วย  และเป็นผู้นำระบบโครงข่ายสามเหลี่ยมเข้ามา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตและโปรดเกล้าฯ ให้นายอะลาบาสเตอร์ ดำเนินการให้นายแมคคาร์ทีได้เข้ามาทำงานกับรัฐบาลไทยภายหลังเสร็จงานของสถาบันการแผนที่อินเดีย 
          นายเจมส์ แมคคาร์ที ได้เริ่มเข้ารับราชการไทยเมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๔ โปรดเกล้าฯ ให้สังกัดสมุหพระกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ในบังคับบัญชาของนายพันโทพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ผู้บังคับการ
          การทำแผนที่แบบตะวันตกในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่นายแมคคาร์ทีเข้ารับราชการไทย ได้ใช้หลักมูลฐานขนาดมิติทรงวงรี เอเวอเรสต์ ในการสำรวจทำแผนที่ตลอดมา ชื่อทรงวงรี “เอเวอเรสต์” มาจากชื่อของนายพันเอกเอเวอเรสต์นายทหารช่างชาวอังกฤษผู้เป็นหัวหน้าสถาบันการแผนที่อินเดียในสมัยที่อินเดียยังขึ้นกับอังกฤษ 
          การทำแผนที่ซึ่งได้จัดทำก่อนสถาปนาเป็นกรมแผนที่เริ่มแรกในตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นการสำรวจสำหรับวางแนวทางสายโทรเลขระหว่างกรุงเทพฯ และมะละแหม่ง (Moulmein) ผ่านระแหง (ตาก) ในการนี้นายแมคคาร์ทีได้ทำการสำรวจสามเหลี่ยมเล็กโยงยึดกับสายสามเหลี่ยมของอินเดียที่ยอดเขาซึ่งอยู่ทางตะวันตกของระแหงไว้ ๓ แห่ง งานแผนที่ที่ใช้สำรวจมีการวัดทางดาราศาสตร์และการวางหมุดหลักฐานวงรอบ (traverse) 
          เมื่อเสร็จงานสำรวจวางแนวทางสายโทรเลขแล้ว พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ซึ่งเวลานั้นเป็นผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ได้มีรับสั่งให้นายแมคคาร์ทีดำเนินการตั้งโรงเรียนแผนที่ คัดเลือกนักเรียนจากกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จากจำนวน ๓๐ คน ใช้สถานที่เรียนที่ตำหนักสมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี  (กรมพระจักรพรรดิพงศ์)ซึ่งอยู่ในบริเวณพระราชวังบางปะอิน ใช้เวลาเรียนประมาณ ๓ เดือน แล้วย้ายกลับมากรุงเทพฯ คัดเลือกได้ผู้ที่จะเป็นช่างแผนที่ได้ ๑๐ คน เริ่มสำรวจทำแผนที่มาตราส่วนขนาดใหญ่บริเวณสำเพ็ง
          ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๕ นายแมคคาร์ทีได้รับคำสั่งให้ไปสำรวจทำแผนที่บริเวณลุ่มแม่น้ำตืน ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำปิง บริเวณต้นแม่น้ำตืนเป็นป่าไม้สักหนาแน่น ได้มีกรณีพิพาทเรื่องเขตระหว่างเชียงใหม่กับระแหง เกี่ยวกับ สิทธิการเก็บภาษีอากร เสร็จงานทำแผนที่รายนี้แล้ว  ก็ต้องไปทำแผนที่กำหนดเขตแดนระหว่างรามัญ (มณฑลปัตตานี) กับเปรัค (อาณานิคมของอังกฤษ) ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๒๖ เวลานั้นได้รับรายงานมีการก่อการไม่สงบจากพวกฮ่อในภูมิภาคทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทางราชการเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องมีการสำรวจทำแผนที่บริเวณที่เกิดความไม่สงบ
          ในการไปทำงานแผนที่ครั้งนี้ มีนายเจ. บุช (J.Bush) และช่างแผนที่ไทย  ๗ นาย เป็นกองทำแผนที่ และทางราชการได้จัดกองทหาร ๒๐๐ คน มีนายลีโอโนเวนส์  (Leonovens) เป็นผู้บังคับบัญชาควบคุมไปด้วย ทั้งคณะได้ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๒๖ โดยทางเรือ ถึงสระบุรีแล้วเดินทางทางบกต่อไปถึงนครราชสีมา และเดินทางต่อไปผ่านพิมาย ภูไทสง และกุมภวาปีไปถึงหนองคายริมฝั่งแม่น้ำโขง จากหนองคาย ให้นายบุชเดินทางต่อไปยังหลวงพระบาง  ส่วนนายแมคคาร์ทีเดินทางต่อไปยังเวียงจันทน์ก่อน แล้วต่อไปยังเชียงขวาง ผ่านเมืองฝางและเมืองจัน แล้วจึงล่องตามลำน้ำจันมาออกแม่น้ำโขงกลับมายังหนองคายอีก แล้วเดินทางต่อไปถึงหลวงพระบาง ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ ได้กำหนดการไว้ว่าจะอยู่ทำงานที่บริเวณนี้ในระหว่างฤดูฝน แต่นายบุชได้ล้มป่วยลงและได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๖ เนื่องจากไข้พิษ ดังนั้นต้นเดือนกรกฎาคม  นายแมคคาร์ ได้ยกกองกลับกรุงเทพฯ  
          นายแมคคาร์ทีรับราชการได้ประมาณ ๒ ปีก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระวิภาคภูวดลเมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๖
          ภายหลังจากนั้นกองแผนที่ไทยได้นายดี.เจ.คอลลินส์ (D.J.Collins) ช่างแผนที่จากสถาบันการแผนที่อินเดียเข้ามารับราชการไทย เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ ซึ่งเหมาะกับเวลาที่จะยกกองออกไปภาคเหนือ   พระวิภาคภูวดลจึงได้ยกกองออกเดินทางในเดือนพฤศจิกายนมีนายคอลลินส์ไปด้วย  และมีหน่วยทหารคุ้มกันซึ่งมีนายเรือโทรอสมุสเซน (Rosmussen) เป็นผู้บังคับบัญชาทหารเรือ ๓๐ คน เดินทางทางเรือผ่านชัยนาท นครสวรรค์ไปถึงอุตรดิตถ์แล้วเดินทางทางบกถึงน่าน
          จากน่านไปหลวงพระบาง ได้แยกกองออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งนำโดยนายคอลลินส์ และนายเรือโทรอสมุสเซน ไปทางบก อีกกลุ่มหนึ่งนำโดยพระวิภาคภูวดล ไปทางท่านุ่น  แล้วเดินทางทางน้ำไปบรรจบกันที่หลวงพระบาง
          กลุ่มพระวิภาคภูวดลได้ผ่านเมืองจุก (หงสาวดี) มีทุ่งพื้นราบยาวประมาณ ๖x๑๐ ไมล์ล้อมรอบด้วยภูเขา มีภูเขาไฟ ๒ ลูก โผล่ให้เห็น ชื่อ ภูไฟใหญ่ และภูไฟน้อย พระวิภาคภูวดลได้แวะไปดูภูไฟใหญ่ มีทางขึ้นไปถึงปากปล่องภูเขาไฟ ทรงวงรี ขนาด ๑๐๐x๕๐ หลา ปากปล่องภูเขาไฟข้างหนึ่งสูงกว่าอีกข้างหนึ่งประมาณ ๕๐ ฟุต เมื่อเอาเศษไม้แห้งใส่เข้าไปตามรอยแตกร้าวไม่ช้าได้ยินเสียงเหมือนไฟคุขึ้นมีควันออกมา และต่อมาเห็นไฟไหม้ขึ้นมาที่เศษไม้นั้น แต่ ที่รอยแตกร้าวอื่นจะเห็นมีแต่ควันขึ้นมา 
          เมื่อเดินทางต่อไปถึงท่านุ่น ริมแม่น้ำโขงกลุ่มของพระวิภาคภูวดลได้เดินทางทางน้ำไปพบกันกับอีกกลุ่มหนึ่งที่หลวงพระบาง จากหลวงพระบาง  กองแผนที่ได้เดินทางต่อไปยังทุ่งเชียงคำซึ่งเป็นที่ตั้งกองทหารไทย กำลังทำการปราบพวกก่อการร้ายฮ่อ เมื่อเสร็จธุรกิจกับข้าหลวงที่กำลังทำการปราบฮ่อ  ได้ยกกองทำแผนที่ไปที่หลวงพระบาง และทำการบุกเบิกสำรวจและทำแผนที่ภูมิประเทศบริเวณเหนือของแม่น้ำโขง และตะวันออกของหลวงพระบาง  แล้วยกกองกลับกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๗ 
          กองการแผนที่คงเป็นส่วนหนึ่งในสังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จนถึงวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๘ จึงได้มีพระบรมราชโองการสถาปนาขึ้นเป็นกรมทำแผนที่ แยกออกจากกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และมีพระวิภาคภูวดลเป็นเจ้ากรม กรมทำแผนที่เปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเป็นกรมแผนที่ทหารมาจนปัจจุบันนี้
          ภายหลังตั้งกรม พระวิภาคภูวดลได้ขึ้นไปภาคเหนืออีกสองครั้ง  เพื่อทำแผนที่ให้แก่กองทัพครั้งสุดท้ายไปที่เมืองเทิง ซึ่งอยู่ทางเหนือของหลวงพระบาง  และเวลานั้นเป็นที่ตั้งกองทัพของพระยาสุรศักดิ์มนตรี (ภายหลังได้เป็นเจ้าพระยา) และได้กลับกรุงเทพฯ ปลาย พ.ศ. ๒๔๒๙  
          ปีต่อมารัฐบาลไทยได้ทำสัญญากับบริษัทพูชาร์ด (Puchard) ให้สำรวจแนวทางสำหรับสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ พระวิภาคภูวดลได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนรัฐบาล ติดตามช่างของบริษัทที่ทำการนี้ด้วย  ภายหลังเมื่อเสร็จงานนั้นแล้วมีนายช่างของบริษัทคนหนึ่งชื่อ สไมลส์ (Smiles) ได้เข้ามาสมัครทำงานที่กรมแผนที่
          ใน พ.ศ. ๒๔๓๓ มีงานแผนที่สำคัญที่ต้องทำ เป็นงานสำรวจทำแผนที่กำหนดเขตแดน ระหว่างไทยกับพม่าทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือ 
          ได้มีการเริ่มทำแผนที่สามเหลี่ยมบริเวณภาคเหนือ ตั้งต้นที่เชียงใหม่  วัดโยงยึดติดต่อกับโครงข่ายการสามเหลี่ยมภาคตะวันออกของสถาบันการแผนที่อินเดีย มีการวัดเส้นฐานที่ทุ่งนาเมืองเชียงใหม่ (และมีการทำแผนที่ด้วยโซ่และเข็มทิศในบางภาคของมณฑลพายัพด้วย) นายสไมลส์ซึ่งได้เข้ารับราชการกรมแผนที่ได้ร่วมทำงานการสามเหลี่ยมครั้งนี้ด้วย โดยตั้งต้นที่เชียงขวางไปถึงหลวงพระบาง วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕ หลวงเทศาจิตวิจารณ์ (ภายหลังเป็นพระยามหาอำมาตย์) ได้รับคำสั่งให้กลับกรุงเทพฯ เนื่องจากได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหาร มีการตั้งกระทรวง  และทางราชการได้ให้ไปรับตำแหน่งทางกระทรวงมหาดไทย งานแผนที่สามเหลี่ยมได้ดำเนินไปจนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระวิภาคภูวดลได้รับคำสั่งได้ยกกองกลับกรุงเทพฯ เนื่องจากได้เกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ทางฝ่ายฝรั่งเศสยึดเอาดินแดนซึ่งกองแผนที่ได้สำรวจไว้แล้วทางเหนือและตะวันออกของแม่น้ำโขง พระวิภาคภูวดลได้ยกกองกลับถึงกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๖
          ในระหว่างฤดูสำรวจ พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๓๗ ได้มีการทำแผนที่การสามเหลี่ยมออกจากกรุงเทพฯ ไปทางจันทบุรี และมีการทำแผนที่ภูมิประเทศ โดยโซ่และเข็มทิศในต่างจังหวัด เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับทำแผนที่ประเทศไทย  
          นายอาร์ ดิบบลิว กิบลิน (R.W. Giblin) ผู้ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้ากรมแผนที่ ได้เข้ารับราชการไทยเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๗ ทางกรมแผนที่ได้พยายามจะต่อสายสามเหลี่ยมให้โยงยึดเข้าด้วยกันกับสายสามเหลี่ยม ซึ่งได้จัดทำไปแล้วทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูสำรวจ พ.ศ. ๒๔๓๗-๒๔๓๘ แต่มีอุปสรรคบางประการจึงต้องเลิกล้มความตั้งใจนั้น
          พระวิภาคภูวดลได้ให้นายกิบลินและนายสไมลส์ไปทำการแผนที่จากเสียมราฐถึงบาสสักที่บาสสักได้มีการวัดทางดาราศาสตร์หาลองจิจูดของบาสสัก  ใช้วิธีโทรเลขและการวัดทางดาราศาสตร์หาเวลาอย่างละเอียดระหว่างกรุงเทพฯ กับบาสสัก ระหว่างที่ไปทำการแผนที่ครั้งนี้ นายสไมลส์ได้ป่วยเป็นโรคบิด  ถึงแก่กรรมที่บ้านจันและได้มีการฝังศพไว้ที่สังขะ เมื่อสิ้นฤดูสำรวจนายกิบลินได้ยกกองกลับกรุงเทพฯ
          การรวบรวมข้อมูลและการเขียนแผนที่ประเทศไทยได้ดำเนินการจนแล้วเสร็จและจัดพิมพ์ขึ้นได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษใน พ.ศ. ๒๔๓๙  ภาษาอังกฤษได้พิมพ์ที่ลอนดอน เพราะเวลานั้นกรมแผนที่ยังไม่มีเครื่องมือพิมพ์ดีพอที่จะทำงานนี้สำเนาฉบับต่อมาจึงได้พิมพ์ที่กรมแผนที่

การรังวัดทำแผนที่ในประเทศไทย
          ในระยะนี้ได้มีปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินสู่ศาลบ่อยขึ้น ผลของการจัดระเบียบที่ดินที่หนักไปในแง่สำรวจตรวจเก็บภาษีอากรเกี่ยวกับที่ดินโดยเจ้าหน้าที่ผู้เก็บภาษีอากรออกหนังสือสำคัญให้เจ้าของที่ดินยึดถือไว้นั้น  ไม่อาจระงับข้อพิพาท โต้แย้งในปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ได้ เพราะหนังสือสำคัญของเจ้าพนักงานภาษีอากร มีข้อความไม่กระจ่างว่าผู้ใดมีสิทธิ์อยู่ในที่ดินเพียงใดอย่างใดส่วนมากมักระบุเพียงว่าได้ทำอาสิน (ผลประโยชน์รายได้อันเกิดจากต้นผลไม้) ปลูกไม้ผลพืชพันธุ์อะไรอันควรเรียกเก็บอากรได้บ้าง จึงไม่เป็นหลักฐานพอที่จะใช้สืบผันสิทธิ์กันระหว่างคู่พิพาทได้สมเด็จพระปิยมหาราช ทรงประสบถึงความเดือดร้อนของราษฎรในกรณีพิพาทเรื่องที่ดินดังกล่าว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงเกษตรพาณิชยการจัดดำเนินงานเรื่องสิทธิในที่ดินให้รัดกุมยิ่งขึ้น แต่การที่จะสร้างหลักฐานเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินให้เห็นได้ชัดแจ้งลงไว้ในโฉนด จะต้องมีการทำแผนที่ระวางรายละเอียดเรียกว่า การทำแผนที่โฉนด (cadastral survey) เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์มาดำรงตำแหน่งเสนาบดี วันที่ ๒ กันยายน ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒)การทำทะเบียนที่ดินให้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินก็ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังและรีบด่วนด้วยทรงพระราชดำริเห็นว่าที่ดินมีราคาสูงยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก ย่อมเป็นเหตุให้ราษฎรมีคดีพิพาทกันด้วยเรื่องที่ดินชุกชุมขึ้น สมควรจัดระเบียบสิ่งสำคัญอันเป็นหลักฐานสำหรับที่ดินให้มีสิ่งหมายเขตที่ดินนั้นๆ ให้มั่นคงยิ่งขึ้นตามกาลสมัย
          ในการทำแผนที่รังวัดที่ดินสำหรับออกหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์แผนที่ที่ทันสมัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้ออกประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ให้พระยาประชาชีพบริบาล (ผึ่ง ชูโต) เป็นข้าหลวงเกษตรให้อยู่ในบังคับบัญชาของเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า  ออกไปดำเนินการออกโฉนดที่ดิน โดยกำหนดท้องที่ทิศใต้ ตั้งแต่แยกบางไทรขึ้นไปตามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันตก และตามฝั่งแม่น้ำแควอ่างทองทิศตะวันออกไปจนถึงคลองตะเคียนเป็นที่สุดฝ่ายเหนือ มีหน้าที่ทำการทั้งธุรการและตุลาการเช่นข้าหลวงพิเศษครั้งก่อน
          นายกิบลิน (ผู้ซึ่งได้เป็นเจ้ากรมแผนที่ต่อจากพระวิภาคภูวดล) ได้รับแต่งตั้งจากเจ้ากรมให้เป็นผู้ควบคุมงานด้านนี้ทุกแผนก ได้ใช้เวลามากในการค้นคิดรูปแบบที่จะให้ผลงานสำเร็จออกมาจนเป็นรูปโฉนดที่ใช้ในสมัยนั้น และนำระบบทะเบียนที่ดินของเซอร์ โรเบิร์ต ทอเรนส์ (Sir Robert Torens) มาใช้ประกอบการทำทะเบียนเป็นทางให้แก้ไขและขจัดความยุ่งยากในกิจการผลิตหนังสือสำคัญสำหรับแสดงกรรมสิทธิ์ได้อย่างมีหลักเกณฑ์ที่ดี
          การแผนที่ได้เริ่มทำแผนที่รังวัดที่ดินโดยด่วนสามารถให้ข้าหลวง และเจ้าพนักงานแแผนที่เริ่มทำการเดินสำรวจ ปักที่หมายเขตที่ดินเป็นครั้งแรกในวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๔ แล้วมีประกาศตั้งหอทะเบียนที่ดินเมืองกรุงเก่าขึ้น ที่ประภาคารราชประยูร ในพระราชวังบางปะอินเป็นหอทะเบียนแห่งแรกในประเทศไทย และปลัดกรมแผนที่ได้รับแต่งตั้งเป็นนายทะเบียน
          วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ เป็นประวัติการณ์ที่ได้มีการประกอบพิธีพระราชทานโฉนดแก่ราษฎรผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วยพระหัตถ์ ในวันนั้นเป็นปฐมฤกษ์ ณ พระที่นั่งวโรภาสพิมานพระราชวังบางปะอิน เป็นโฉนดสำหรับนาหลวง ๑ โฉนด และที่ดินของเอกชน ๓ โฉนด
          ตั้งแต่วันพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโฉนดที่พระราชวังบางปะอิน งานแผนที่ของกรมแผนที่ส่วนใหญ่เป็นงานทำแผนที่รายละเอียด ในการสร้างหนังสือสำคัญ (โฉนดที่ดิน) ได้มีการทำแผนที่เมืองอำเภอ  และพื้นที่บริเวณบางแห่ง มีลักษณะเป็นแผนที่ภูมิประเทศ  รังวัดด้วยโต๊ะราบ (plane table) 
          อีก ๘ ปีต่อมาได้มีคำสั่งให้โอนสังกัดกรมแผนที่จากกระทรวงเกษตราธิการไปขึ้นกับกระทรวงกลาโหม
          ภายหลังกรมแผนที่ได้โอนไปสังกัดกระทรวงกลาโหม ๑ ปีเศษ  ทางกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งให้โอนพนักงานในกองแผนที่รายละเอียดทั้งหมด  ๖๘ นาย ไปให้กระทรวงเกษตราธิการกองนี้ได้เปลี่ยนสภาพต่อมาเป็นกรมรังวัดที่ดิน มีจ้ากรมเป็นหัวหน้ากรมคือ พระยาคำนวณคัคนานต์เป็นเจ้ากรมคนแรก ท่านผู้นี้เคยเป็นปลัดกรมแผนที่ และเคยร่วมงานกับพระวิภาคภูวดล และในเวลาใกล้เคียงกัน (พ.ศ. ๒๔๔๔) ทางกระทรวงเกษตราธิการ  ได้ตั้งกรมใหม่ให้ชื่อว่า กรมทะเบียนที่ดิน มีนายเกรแฮม (Greham) ที่ปรึกษากระทรวงเกษตราธิการ รักษาการเป็นเจ้ากรม
          ภายใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการยุบและรวม ๓ กรมในกระทรวงเกษตราธิการคือ กรมรังวัดที่ดิน กรมทะเบียนที่ดิน และกรมราชโลหกิจ เข้าเป็นกรมเดียวกันให้ชื่อว่า กรมที่ดิน ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย 
          ต่อมามีการตั้งกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ย้ายงานของกรมราชโลหกิจไปขึ้นกับกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ชื่อว่า กรมทรัพยากรธรณี 
          มื่อกรมแผนที่ได้มาขึ้นกับกระทรวงกลาโหมอีก ทางราชการต้องการการสำรวจแผนที่ภูมิประเทศมาตรฐานให้ครอบคลุมพื้นที่ของประเทศให้ได้เร็วเท่าที่จะจัดทำไปได้ 
          แผนที่ภูมิประเทศมาตรฐานกำหนดมาตราวนไว้ ๑:๕๐,๐๐๐ แตกต่างกันกับแผนที่รังวัดที่ดิน ซึ่งมีมาตราส่วนใหญ่ ๑:๑,๐๐๐ ถึง ๑:๔,๐๐๐ ตามลักษณะพื้นที่ภูมิประเทศโดยทั่วไปสำหรับไร่ นา สวน โดยปกติใช้มาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐
          ในการวางโครงหมุดหลักฐานชั้นที่ ๑ ซึ่งต้องทำก่อน ทางกรมแผนที่ได้ทำไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังต้องทำอีกมาก เมื่อกรมแผนที่กลับมาสังกัดกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๔๕๒ มีที่ได้ทำไปส่วนหนึ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ โดยเริ่มสายสามเหลี่ยมที่เชียงใหม่ ไปทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือพอทำไปจนเลยหลวงพระบางไม่มาก ก็ต้องหยุดชะงักลง เพราะเกิดคดีพิพาทกับฝรั่งเศส สายสามเหลี่ยมนี้ได้มีการโยงยึดติดต่อกับสายสามเหลี่ยมของสถาบันการแผนที่อินเดีย ที่เหนือเชียงใหม่ ส่วนใหญ่ของสายสามเหลี่ยมนี้ตกไปอยู่ในดินแดนของอินโดจีนฝรั่งเศส 
          งานทำแผนที่ของกรมแผนที่ คงดำเนินไปตามที่ได้กล่าวไว้ในเรื่องภารกิจหลักของสถาบันารทำแผนที่ การสำรวจเพื่อทำแผนที่ทางพื้นดินในเวลาต่อมาได้มีการสำรวจโดยใช้รูปถ่ายทางอากาศ ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป[กลับหัวข้อหลัก]
 
แผนที่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑
          ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ ทางกรมแผนที่ได้ติดตามเรื่องเกี่ยวกับการทำแผนที่ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับใช้ในการทำสงคราม มีอยู่ ๒ เรื่อง  ที่อยู่ในความสนใจมากที่สุด ตอนท้ายๆของสงครามได้มีวิวัฒนาการใช้การถ่ายรูปทางอากาศจากเครื่องบินทำแผนผัง และมีการให้กำเนิดระบบแผนที่ตาราง
          สนามรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ อยู่ในพื้นที่หลายประเทศ แผนที่ของแต่ละประเทศของฝ่ายสัมพันธมิตรใช้โครงสร้างแผ่นระวางแผนที่ไม่เหมือนกันทั้งหมด การใช้ขนาดทรงวงรีของโลกก็มีความแตกต่างกันบ้าง กองทัพบกที่ ๒ ของประเทศฝรั่งเศสได้ริเริ่มนำระบบแผนที่ตารางมาใช้ให้ชื่อว่า “ระบบแผนที่ตารางกิโลเมตรลัม-เบิร์ต” (Quadrillage Kilometrique Systeme  Lambert) ในเวลาสงคราม ปรากฏได้ผลดี บรรดากองทัพบกฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตกลงใช้ระบบการนั้นทั่วไป
          กรมแผนที่เห็นเป็นการสมควรที่จะจัดการคำนวณทำสมุดคู่มือแผนที่ตารางแบบลัมเบิร์ตขึ้นไว้สำหรับใช้ในราชการ 
          ได้มีคำสั่งกระทรวงกลาโหม วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ให้ผู้ซึ่งมีหน้าที่ ใช้สมุด  คู่มือแผนที่ตารางสำหรับช่วยการคำนวณและแสดงตารางเลข เพื่อให้หาผลได้ตามประสงค์ เป็นสมุดคู่มือปฏิบัติการต่อไป 
          สมุดคู่มือแผนที่ตารางเล่มนี้ ได้คำนวณขึ้นไว้สำหรับประเทศไทย  ใช้แบบเส้นโครงแผนที่ลัมเบิร์ตคอนฟอร์มาลรูปกรวย (Lambert Conformal Conic Projection) (คอนฟอร์มาลๆ ที่อยู่บนผิวพื้นของโลก จะแสดงไว้ถูกต้องตามตำแหน่งที่ และตามมาตราส่วนบนแผ่นแผนที่ และมาตราส่วนจะถูกต้องแท้ทีเดียวตามวงละติจูด ๒ วง ซึ่งเลือกใช้ในการคำนวณ และเส้นเมริเดียนเป็นเส้นตรงแผ่ออกจากศูนย์รวมกับศูนย์เดียว)
          การคำนวณเลขในสมุดเล่มนี้ ได้เลือกใช้  วงละติจูดที่ ๘ องศา และที่ ๑๘ องศา เพื่อให้ความคลาดเคลื่อนในการจำลองรูปแผนที่ทั่วไปในประเทศไทยลงในแผ่นแผนที่มีน้อยที่สุด
          นอกจากแผนที่ตารางซึ่งได้กล่าวมาแล้วยังได้มีการใช้รูปถ่ายทางอากาศจากเครื่องบินทำแผนผังและทำแผนที่ในระหว่างสงคราม 
          ภายหลังสงครามได้เลิกแล้ว ได้มีการศึกษาวิจัยและสร้างอุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับบการทำแผนที่ด้วยรูปถ่ายทางอากาศในหลายรูปแบบ ทั้งที่ใช้เกี่ยวกับการถ่าย การบิน และการเขียนแปลจากรูปถ่ายเป็นแผนที่ 
          การดำเนินการเรื่องการทำแผนที่โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศ จึงต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ (มีบทความเขียนไว้ในรายงานประจำปี กรมแผนที่ พ.ศ. ๒๔๖๗-๒๔๖๘)
         การทำแผนที่ภูมิประเทศโดยใช้รูปถ่ายทางอากาศในประเทศไทย เริ่มใน พ.ศ. ๒๔๖๗ ในเวลานั้นทางกองทัพที่ ๒ ได้จัดให้สำรวจแผนที่ภูมิประเทศในพื้นที่ระหว่างละติจูด ๑๖° ๓๐ กับ ๑๗° ๐๙ และลองจิจูด ๑๐๐° ๑๕’ กับ ๑๐๐° ๓๐โดยใช้นายทหารแผนที่ของกองทัพที่ ๒ เป็นหัวหน้า และมีนายสิบที่ได้รับการอบรมวิชาการแผนที่มาบ้างเป็นผู้ทำการสำรวจ เป็นแผนที่มาตราส่วน ๑:๒๕,๐๐๐ แผนที่ชุดนี้ยังไม่เป็นแผนที่ที่ได้มาตรฐานของกรมแผนที่ เป็นแผนที่ซึ่งทางกองทัพที่ ๒ ต้องการด่วนเพื่อใช้ไปพลางก่อน เพราะทางกรมแผนที่ยังไม่พร้อมที่จะไปสำรวจตามแผนกำหนดการในเวลานั้น ทางกรมแผนที่จึงได้ถือโอกาสที่จะใช้รูปถ่ายทางอากาศสำรวจแก้ไขให้แผนที่ชุดนี้ เป็นการหาประสบการณ์ด้วยความร่วมมือกับกรมอากาศยาน ซึ่งก็ต้องการหาความชำนาญและประสบการณ์ในการใช้รูปถ่ายทางอากาศสำรวจแผนที่ภูมิประเทศได้เริ่มต้นถ่ายรูปบริเวณพื้นที่ซึ่งได้กล่าวมาแล้วนั้น เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ การถ่ายและการพิมพ์รูปเป็นหน้าที่ของกรมอากาศยานซึ่งทำให้เพื่อใช้รวบรวมเขียนแก้ไขแผนที่ซึ่งทางกองทัพได้สำรวจไว้ กรมอากาศยานได้ใช้เครื่องบินแบบเบรเกต์ (Brequet) บินถ่ายกล้องที่ถ่ายก็เป็นของกรมอากาศยานที่มีอยู่แล้ว ใช้กระจกระยะศูนย์เพลิง (focus) ๒๖ เซนติเมตร แมกกาซีน บรรจุกระจกถ่ายครั้งหนึ่งถ่ายได้ ๑๒ รูป ขนาดกระจก ๑๘x๒๔ เซนติเมตร รูปที่ถ่ายมีมาตราส่วนประมาณ ๑:๑๐,๐๐๐ ใช้สนามบินที่พิษณุโลก และสร้างห้องล้างรูปในสถานที่นั้นใช้ในการนี้ งานถ่ายรูปใช้เวลาทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบประมาณหนึ่งเดือน พื้นที่ที่ถ่ายรูปประมาณ ๑,๒๕๐ ตารางกิโลเมตร จำนวนรูปแผ่นพิมพ์รูปถ่ายพื้นที่นั้น ๗๖๕ รูป งานครั้งนี้เป็นครั้งแรกจึงใช้เครื่องมือเท่าที่มีอยู่ เมื่อกรมอากาศยานส่งรูปถ่ายมาให้แล้ว  การรวบรวมเป็นแผนที่เป็นหน้าที่ของกรมแผนที่  
          การถ่ายรูปทางอากาศครั้งต่อมา คงใช้เครื่องมือกล้องถ่ายรูปอย่างเดียวกัน ได้ถ่ายทำเพื่อการสำรวจแก้ไขแผนที่กรุงเทพฯ ทางตอนเหนือในระหว่างปลายเดือนมิถุนายน และต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ในการทำงานครั้งนี้ได้มีการวางโครงหลักฐานไว้ล่วงหน้า และสร้างที่หมายเป็นรูปต่างๆ กัน โรยปูนขาวมีระยะห่างกัน ๘๐๐-๑,๐๐๐ เมตร เพื่อให้รูปถ่ายมีที่หมาย๔ หมุด แต่เนื่องจากเป็นฤดูฝนจึงต้องเสียเวลาซ่อมที่หมายซึ่งโรยปูนขาวบ้าง ผลงานที่ทำไปนั้น ทำได้ดีกว่าที่พิษณุโลกมาก ใช้การรวบรวมแก้ไขแผนที่ภูมิประเทศได้ดี ในการนี้ได้กำหนดจะใช้รูปถ่ายสำหรับทำแผนที่มาตราส่วนใหญ่ และจะใช้รวบรวมทำแผนที่รังวัดที่ดินได้ด้วย จึงได้สั่งเครื่องแบบรูซิลล์ (Rousille) (ที่อินโดจีนฝรั่งเศสได้ใช้วิธีการของรูซิลล์ สำรวจเป็นแผนที่รังวัดทำหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน) พื้นที่ที่ถ่ายงานครั้งนี้ ๙๐ ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยรูปถ่าย ๔๕ รูป
         ใน พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้เริ่มดำเนินการถ่ายทำ แผนที่ภูมิประเทศ ซึ่งยังไม่เคยสำรวจแบบมาตรฐานมาก่อน  โดยใช้กล้องถ่ายรูปซึ่งใช้ฟิล์มที่สามารถถ่ายได้แมกกาซีนหนึ่งๆ จำนวน ๑๐๐ รูปซึ่งเพิ่งได้สั่งมาใช้ ในเวลานั้นกรมแผนที่มีโครงการสำรวจแผนที่ภูมิประเทศในภาคพื้นมณฑลนครราชสีมาให้เป็นพื้นที่ ซึ่งจะให้ติดต่อกันกับพื้นที่ซึ่งจะได้มีการสำรวจภูมิประเทศตามแผนกำหนดการพื้นที่ซึ่งได้เลือกทำครั้งนี้อยู่ทางด้านนอกของที่ตั้งตัวเมืองสุรินทร์ระหว่างลองจิจูด ๑๐๐° ๓๐ กับ ๑๐๔° ๐๐ คลุมพื้นที่ ๓ ระวาง แผนที่สมัยนั้นมีขนาด ๑๐ x ๑๐ รวมประมาณ ๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร  
          งานสำรวจทำแผนที่ภูมิประเทศครั้งนี้ ได้เริ่มดำเนินการตามกรรมวิธีการสำรวจ ได้ส่งกองวางหมุดหลักฐานในพื้นที่ ซึ่งจะสำรวจใช้วงรอบ สร้างหมุดหลักฐานตามแบบที่ใช้งาน ชนิดที่ใช้ทำแผนที่ภูมิประเทศ แต่มีเพิ่มเติมให้สีหมุดที่หมายซึ่งจะแปลเห็นได้ในรูปถ่ายแต่ละแผ่นซึ่งจะโรยปูนขาวเป็นรูปต่างๆ กัน ให้เป็นที่สังเกตจดจำในรูปถ่ายได้ เพื่อใช้ในการรวบรวมรายละเอียดภูมิประเทศ
          การบินถ่ายรูปได้ทำในตอนปลาย พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้ถ่ายเป็นแนวตั้งเหนือ-ใต้ ๑๑ แนวบิน และถ่ายตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ๒๔ แนวบินเป็นรูปถ่ายทั้งหมดประมาณ ๘๓๘ รูป คลุมพื้นที่เหนือที่กำหนดไว้เดิมบางส่วน ๑๐ แนวบิน ทางละติจุดเหนือ ๑๕° ๐๐ ที่ได้กำหนดไว้เดิม กล้องที่ใช้เป็นกล้องแบบ อีเกิลฟิล์ม เอฟ ๘ (F8 Eagle Film Camera) ซื้อจากอังกฤษเฉลี่ยมาตราส่วนรูปประมาณ ๑:๑๕,๐๐๐
          เมื่อกรมแผนที่ได้รับรูปถ่าย เริ่มต้นเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๗๓ ก็ได้รวบรวมต่อเป็นแถบๆแล้วปรับเขียนลงจุดที่หมายหมุดหลักฐานก่อนเสร็จแล้วจึงได้ส่งไปให้แผนกพิมพ์พิมพ์สำเนาลงบนกระดาษโบรไมด์ แล้วถ่ายย่อเป็นมาตราส่วน ๑:๒๕,๐๐๐ การรวบรวมย่อทำเป็นมาตราส่วน  ๑:๑๔,๐๐๐ ตอนต้นๆ ใช้เวลานานหน่อย แต่เมื่อได้ประสบการณ์มากขึ้นก็ทำได้เร็วขึ้น
          รูปถ่ายชุดแรกใช้เวลาทำจนเป็นแผ่นโบรไมด์ ๑:๒๕,๐๐๐ อยู่จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ จึงพร้อมที่จะให้กองรังวัดแผนที่ภูมิประเทศออกไปทำการในสนาม เพื่อสำรวจชื่อหมู่บ้าน ตำบลและจดความสูงที่หมาย ชื่อลำน้ำ ลำธาร เขตตำบล ฯลฯ เพิ่มเติม
          เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้รับสำเนารูปถ่ายทางอากาศอีกหนึ่งรุ่น  เป็นรูปถ่ายแถบละติจูดเหนือ ๑๕° ๐๐ ไปถึง ๑๕° ๑๐ การรวบรวมลงจุดที่หมายและการย่อลงเป็นมาตราส่วน ๑:๑๔,๐๐๐ กองรังวัดแผนที่ภูมิประเทศคงดำเนินไปตามแผนที่ที่ใช้รุ่นแรก เสร็จในปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๔
          ในการนี้ ได้ให้นายร้อยโท ชิตวีร์ ภักดีกุล(ภายหลังได้เลื่อนเป็นนายร้อยเอก หลวงชิตวีร์สุนทรา) ผู้ซึ่งได้รับการศึกษาในประเทศอังกฤษ และได้ให้รับการฝึกหัดอบรมในเรื่องนี้ที่แผนกภูมิศาสตร์ กรมเสนาธิการทหารบกอังกฤษ เป็นผู้ควบคุมดำเนินการ การถ่ายทำแผนที่ภูมิประเทศครั้งนี้  มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ได้มาใหม่ คือ กล้องถ่ายแบบอีเกิล (Eagle) ใช้ฟิล์ม สเตอริโอสโคป (Stereoscope) ชนิดเบา เป็นเครื่องที่ใช้อย่างธรรมดา(ไม่ใช่แบบพิสดารนัก และก็ใช้ประจำที่) และเครื่องวัดความสูงละเอียดแบบพอลิน (Paulin) และแบบนีเกรตต์และเซมบรา (Negrett and Zembra)ซึ่งเป็นแบบใหม่ที่สุดในเวลานั้น เครื่องเล็งทางแบบแอลดิส (Aldis sight) ที่ใช้ในการบินถ่ายก็ได้รับมาแล้วและการติดตั้งใช้ยังไม่เรียบร้อยดีพอที่จะใช้การในเวลานั้น  
          วิธีการรวบรวมและถ่ายทอดข้อมูลจากรูปถ่ายทางอากาศให้เป็นแผนที่ภูมิประเทศ ดำเนินการตามแบบของนายร้อยเอก ฮอทีน (Hotine) ขณะนั้นประจำอยู่แผนกภูมิศาสตร์ กรมเสนาธิการทหารบกอังกฤษ ภายหลังเป็นนายพลจัตวา เจ้ากรมแผนที่ทหารบกอังกฤษ (Ordnance Survey) (รายละเอียดวิธีการมีแจ้งอยู่ในหนังสือ Professional Paper of Air Survey Committee No.3 andNo.4)
          ภายหลังการถ่ายรูปทางอากาศในการทำแผนที่ในจังหวัดสุรินทร์  ก็ไม่ได้มีการถ่ายรูปทางอากาศทำแผนที่อีกเป็นเวลานาน 
          ก่อนสมัยที่จะมีเครื่องบิน ก็ได้มีการพัฒนาเครื่องมือและเครื่องใช้ในการสำรวจทำแผนที่จากรูปถ่ายทางพื้นดินมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งรวม ทั้งการปรับปรุงกล้องถ่ายรูปใช้ฟิล์มม้วนแทนกระจก เครื่องวัดเขียนรายละเอียดจากรูปถ่ายเป็นแบบซึ่งมีชื่อว่า สเตอริโอ ออโตกราฟ (Stereo autograph)
          สงครามโลกครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๕๗ ได้ระตุ้นให้โฟโตแกรมเมตรี (photogrammetry) จากผลความเจริญของเครื่องบิน สามารถทำแผนที่สังเขปเบื้องต้น (ลาดตระเวน) และการสืบแปลความหมายของรายละเอียดในรูปถ่าย 
          ศัพท์โฟโตแกรมเมตรี ได้เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๐ ผู้ที่ทำการบุกเบิกการสำรวจทำแผนที่จากรูปถ่ายที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่ง คือพันเอก เอเม โลส์เซดาต์ (Aime Laussedat) นายทหารช่างทหารบกฝรั่งเศส ได้สร้างเครื่องมือใช้สำรวจทำแผนที่ทางพื้นดิน และได้รับสมญานามว่า “บิดาแห่งโฟโตแกรมเมตรี” ศัพท์โฟโตแกรมเมตรียอมรับใช้กันทั้งในยุโรปและอเมริกา
          การสำรวจโดยรูปถ่ายคงทำจากพื้นดิน จนถึงสมัยที่มีเครื่องบินแล้ว  จึงได้เริ่มนำรูปถ่ายทางอากาศมาใช้ทำเป็นแผนที่ใน พ.ศ. ๒๔๕๖ เป็นครั้งแรก  ทางการทหารที่ใช้รูปถ่ายจากบอลลูนได้แก่ สหรัฐอเมริกา ในขณะเกิดสงครามกลางเมือง เมื่อ ค.ศ. ๑๘๖๔ 
          เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ ฝ่ายเยอรมันใช้ปืนใหญ่ขนาด ๓๘ เซนติเมตร มีลำกล้องยาวยิงเข้ามาทางกรุงปารีส ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ใช้รูปถ่ายทางอากาศลาดตระเวนหาตำแหน่งที่ตั้ง ปืนใหญ่นั้นจากการแปลความหมายในรูปถ่ายหาที่ตั้งปืนและทิ้งระเบิดฐานที่ตั้งปืนได้ 
          ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ มีผู้ให้ความสนใจเรื่องโฟโตแกรมเมตรีมากขึ้น ได้มีการพัฒนาและผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจทางอากาศและวิธีใช้รูปถ่ายทางอากาศมากมายหลายรูปแบบ
          ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีการใช้เครื่องมือหลักในการเขียนแผนที่ให้ความละเอียดถูกต้องมาก สร้างขึ้นโดยบริษัทไซส์ (เยอรมัน) และบริษัทวิลด์ (สวิตเซอร์แลนด์) เครื่องมือของทั้งสองบริษัทนี้มีผู้นิยมใช้มาก 
          ยังมีเครื่องเขียนแผนที่อีกแบบหนึ่งเป็นแบบใหม่ใช้หลักการแตกต่างกับเครื่องที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เครื่องมือชนิดนี้เป็นแบบมัลติเพล็กซ์ (multiplex) สร้างขึ้นในสหรัฐอเมริกา และอังกฤษราคาน้อยกว่าแบบเครื่องของไซส์และวิลด์มากหน่วยบริการแผนที่กองทัพบกสหรัฐอเมริกา (U.S. Army Man Service) ได้รับเครื่องมือแบบมัลติเพล็กซ์เป็นเครื่องมือทำแผนที่มาตรฐาน
         ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ หน่วยทหารนี้ได้จัดพิมพ์แผนที่จำนวนหลายล้านแผ่นให้กองทัพสหรัฐฯ ซึ่งปฏิบัติการอยู่ทั่วไป ในสนามรบในพื้นที่มากมายหลายแห่งเป็นจำนวนล้านๆ แผ่น 
          สงครามโลกครั้งที่ ๒ นี้ได้ทำให้มีความต้องการใช้เครื่องมือที่มีอยู่รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับการฝึกมาแล้วเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเร่งรีบพัฒนาเครื่องมือช่วยในการถ่ายรูปในการสำรวจและต้นหน และยังมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้โฟโตแกรมเมตรี เพื่อการโจมตีและป้องกันประเทศทั้งทางบกและทางทะเล จึงทำให้การแปลความหมายจากรูปถ่ายเป็นวิทยาศาสตร์ใหม่ที่สำคัญมาก ทางสหรัฐอเมริกายังได้รับความสำเร็จในการตกล้องถ่ายรูปเป็นแบบทีไม่มีที่ปิดมีกรวยเลนส์เป็นคู่และการทรงตัวแบบไจโรสโคปและรู้ถึงเทคนิคของการถ่ายรูปทางอากาศในเวลากลางคืน

นายโรแนลด์ ดับเบิลยู กิบลิน เจ้ากรมแผนที่ทหารคนที่ ๒

แผนที่ประวัติอาณาเขตไทยแสดงอาณาเขตไทยต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนากรมแผนที่เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๘

[ดูภาพทั้งหมดในหมวด]

Welcome to WordPress.com. This is your first post. Edit or delete it and start blogging!